ขนมสอดใส้


(ภาพจาก ปรีณาภา ยอดนิล 22/01/2560)

ประวัติความเป็นมาของขนมสอดใส้

ขนมใส่ไส้" หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เดี๋ยวนี้จะหาขนมใส่ไส้ที่มีรสอร่อยซึ่งมีทั้งกลิ่นหอมและหวานมัน มารับประทานได้ยาก เพราะขนมใส่ไส้ที่อร่อยต้องใส่กะทิที่ข้นมัน ซึ่งมะพร้าวเดี๋ยวนี้ราคาก็แพงน่าดู สำหรับตัวแป้งที่หุ้มใช้ทั้งแป้งข้าวเหนียวขาวและแป้งข้าวเหนียวดำเวลานวดต้องค่อยๆ ใส่น้ำแล้วต้องนวดนานๆ เม็ดแป้งจะอุ้มน้ำได้ดีเพราะเป็นแป้งแห้งแป้งจะมีความเหนียวดีไม่เหมือนในสมัยก่อนจะใช้แป้งที่โม่เองแป้งก็จะเปียกและอุ้มน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องนวดนานหน้าของขนมเวลากวนแล้วต้องรีบตักหยอดขณะที่ร้อนอยู่จึงจะเรียบเวลาห่อขนมจะได้รูปตามที่ห่อและน่ารับประทานใบตองที่ใช้ห่อขนมใส่ไส้ควรใช้ใบตองตาน

ส่วนผสมไส้
๑.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ๑ ถ้วยตวง
๒.น้ำตาลปี๊บ ๑/๒ ถ้วยตวง
๓.เกลือ ๑/๔ ช้อนชา
ส่วนผสมแป้งหุ้มไส้
๑. แป้งข้าวเหนียว ๑/๒ ถ้วยตวง
๒. น้ำ ๓ ช้อนโต๊ะ
๓. น้ำเปล่า ๓ ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมตัวแป้ง
๑. หัวกะทิ ๓/๔ ถ้วยตวง
๒. แป้งข้าวเจ้า ๑/๒ ถ้วยตวง
๓. น้ำตาลทราย ๑/๓ ถ้วยตวง
๔. แป้งข้าวโพด ๑ ช้อนโต๊ะ
๕. น้ำใบเตยข้นๆ ๓-๕ ช้อนโต๊ะ
๖. เกลือ ๑/๒ ช้อนชา

วิธีทำ
๑. นำมะพร้าวทึนทึกขูดฝอยไปเคี้ยวกับน้ำตาลปิ๊บให้หอมและแห้งพอปั้นได้ยกลง ปั้นเป็นก้อน กลมๆ เล็กๆนำไปอบควันเทียน
๒. เตรียมวัสดุในการห่อ นำใบตองมาฉีกให้กว้าง ๗ ซ.ม ยาว ๒๐- ๒๕ ซ.ม(ตองชั้นนอก) ฉีกใบตองกว้าง ๕ ซ.ม. ยาว ๑๐ ซ.ม. (ตองชั้นใน) แล้วตัดหัวท้ายให้แหลม และนำใบมะพร้าวมาฉีกให้กว้าง ๑.๕ ซ.ม.ยาว ๕๐ ซ.ม. แล้วเตรียมไม้กลัดเล็กๆ ยาว ๓ ซ.ม.
๓. นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเปล่า โดยค่อย ๆใส่น้ำที่ละน้อยนวดจนแป้งนิ่ม แล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ ซ.ม.นำใส่ที่อบควันเทียนแล้วมาหุ้มด้วยแป้งบางๆ
๔. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด น้ำตาลทราย เกลือ ใส่รวมกันในอ่างผสมคนให้เข้ากัน แล้วเติมกะทิ ๓/๔ ถ้วยตวง คนให้ส่วนผสมเข้ากันและน้ำตาลละลาย แล้วเติมกะทิที่เหลือและน้ำใบเตยคนให้เข้ากัน
๕. นำส่วนผสมในข้อ ๔ ไปใส่ในกระทะทอง ยกขึ้นตั้งไฟกวนให้ส่วนผสมข้น ยกลง
๖. นำส่วนผมในข้อ ๕ ไปห่อให้ส่วยงาม นำไปนึ่ง ในน้ำเดือด ๒๐- ๒๕ นาที ยกลง

ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป็นขนมโบราณดั้งเดิม ไว้รับประทาน เป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นและทำเป็นอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน


 

 
 
 

 


ข้อมูลจาก http://www.m-culture.in.th/album/162465/js/
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น