ข้าวต้มมัด


(ภาพจาก ปรีณาภา ยอดนิล 15/01/2560)



ประวัติความเป็นมาของข้าวต้มมัด

         ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจะบอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่า “ข้าวต้มมัด” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย

    “ข้าวต้มมัด” มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น ทางภาคเหนือจะเรียกข้าวต้มมัดว่า “ข้าวต้มผัด” ทางภาคกลางเรียกว่า “ข้าวต้มมัด” เรียกตามรูปลักษณ์ที่มีห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางภาคใต้โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า “เหนียวห่อกล้วย” เพราะลักษณะที่เห็น ประกอบกับวิธีการทำที่เป็นการนำข้าวเหนียวมาห่อกล้วยเอาไว้และห่อปิดด้วยใบตองอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ บางท้องถิ่นจะห่อข้าวต้มมัดเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกระพ้อแต่ไม่มัด หรือห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว ซึ่งจะเรียกว่า “ข้าวต้มลูกโยน

    ในประเพณีไทยนั้น ข้าวต้มมัดจัดเป็นขนมยอดนิยมที่มักทำไว้กินเป็นของว่างหรือเอาไปร่วมงานบุญ บ้างก็ทำไส้ถั่วดำ บ้างก็ทำไส้กล้วย บ้างก็ไม่มีไส้ ซึ่งจะเรียกว่า “ข้าวต้มน้ำวุ้น

    นอกจากนี้เรามักจัดข้าวต้มมัดไปถวายพระในงานบุญวันออกพรรษา หรืองานตักบาตร เทโว เหตุที่คนไทยนิยมนำข้าวต้มมัดไปถวายพระนั้น มีเรื่องเล่ากันว่า เกิดจากชาวเมืองในสมัยพระพุทธกาลที่ไปคอยรับเสด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านำไปทำบุญตักบาตรเพราะเห็นว่าเป็นของสะดวกและรับประทานง่าย

ส่วนผสม

ข้าวเหนียว 2 ถ้วย
หัวกะทิ 2 ถ้วย
น้ำตาลทราย ครึ่งถ้วย
เกลือ 2 ช้อนชา
กล้วยน้ำหว้าสุก 5 ลูก
ใบตองและตอกสำหรับห่อข้าวต้มมัด

วิธีทำ
    1.
ข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ ประมาณ 2-3 ชม.
    2.
ตั้งกระทะสำหรับกวนข้าวเหนียวเทหางกะทิทั้งหมดลงไป ใส่ข้าวเหนียว เกลือ และน้ำตาลประมาณ 1 ใน 3 ลงไปค่อยๆ กวนระวังอย่าให้ไหม้
    3.
กวนจนเริ่มแห้งค่อยๆใส่หัวกะทิลงไปและน้ำตาลทรายที่เหลือ กวนจนเม็ดข้าวเหนียวเริ่มบาน แต่ตรงกลางข้างในยังเป็นไตอยู่ ยกลงพักให้เย็น
    4.
ตักข้าวเหนียวประมาณ 1 ½ ชต.เกลี่ยใส่ในใบตองที่ตัดเตรียมไว้สำหรับห่อ วางกล้วยลงไปตรงกลาง จากนั้นนำข้าวเหนียวมาห่อปิดกล้วยไว้ วางถั่วดำต้มลงไป
    5.
จัดการห่อข้าวต้มมัด แล้วนำข้าวต้มมัดสองอันมาประกบเข้าด้วยกัน มัดด้วยตอก 2 เปลาะ
    6.
นึ่งให้สุกประมาณ 1 ½ ชม.

ประโยชน์ด้านโภชนาการ

-ข้าวเหนียวเป็นคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่นทำให้ร่างกาย
-กล้วยน้ำว้าเป็นคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่นทำให้ร่างกายสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ดี  
-เกลือเป็นคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่นทำให้ร่างกายสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆได้ดี   เกี่ยวกับการย่อย การดูดซึม การที่จะใช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอำนาจการละลายของสาร
-ถั่วดำหรือถั่วลิสงเป็น โปรตีน รองลงมาได้แก่ ไขมัน เกลือแร่และวิตามินต่างๆ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต เช่น ช่วยสร้างเซลและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่ให้อำนาจในการต้านทานโรค และให้พลังงานในกรณีที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่
-น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่นทำให้ร่างกายสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆได้ดี 

 
 ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/thonah086/home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น